สำหรับมือใหม่หัดใช้สมาร์ทโฮม ผมแนะนำให้เริ่มต้นจาก ปลั๊ก WiFi ก่อน เพราะแค่เสียบปลั๊ก ติดตั้ง app ก็พร้อมที่จะใช้งานได้เลย หากติดใจจะลองใช้สมาร์ทโฮมตัวอื่นก็จะทำให้เข้าใจการทำงานได้ง่ายขึ้น
สำหรับ ปลั๊ก WiFi ที่จะมาแนะนำในบทความนี้จะเป็นชนิด 4 AC socket (สั่งเปิด-ปิดแยกกันได้) 4 USB port (สั่งเปิด-ปิดพร้อมกัน) เรียกว่าเอาให้คุ้ม ราคาไม่ถึงพันบาท ใช้ chip ของ Tuya ซึ่งสามารถใช้งานร่วมกับ app Smart Life ได้ทันที สามารถตั้งเวลาการทำงาน สั่งงานด้วยเสียงโดยใช้ร่วมกัน Google Assistant หรือ Alexza ได้ และยังตั้งค่าการทำงานอื่นๆได้อีกหลายอย่าง ลองมาดู spec คร่าวๆของ ปลั๊ก WiFi ตัวนี้กันก่อน
สำหรับผู้ใช้มือถือ Android ให้ไปที่หน้า Google Play Store หรือถ้าเป็น iPhone ให้ไปที่ App Store แล้ว search หา “Smart Life” ทำการติดตั้ง เมื่อติดตั้งเสร็จแล้วให้กด Open
เมื่อเข้าสู่หน้า Smart Life จะแสดงนโยบายความเป็นส่วนตัว ให้กด Agree และสำหรับผู้ที่ไม่เคยลงทะเบียนมาก่อนให้ทำการลงทะเบียนโดยคลิ๊กที่ Sign Up ทำการใส่ email ของคุณ แล้วกดเพื่อรับ Get Verification Code หลังจากนั้นให้ไปที่ email ของคุณเพื่อไปนำ code ที่ได้รับมาใส่ในขั้นตอนต่อไป
ให้ใส่ code ที่ได้รับทางเมล์ จากนั้นจะเปลี่ยนหน้าเป็นการตั้ง password เมื่อตั้งเสร็จแล้วให้กด Done แล้วกด Go to App ในหน้าถัดไป
ถ้าเปิดใช้งานครั้งแรกจะมีคำแนะนำเรื่องการเพิ่มอุปกรณ์ ให้กด Got It แล้วคลิ๊ก Add Device หรือกดเครื่องหมาย + ที่มุมบนขวาเพื่อเพิ่มอุปกรณ์ ในหน้าถัดมาจะพบอุปกรณ์ต่างๆ ที่ app Smart Life รองรับ ให้เลือก Power Strip (Wi-Fi) (ในกรณีท่านใช้อุปกรณ์อื่นก็เลือกให้ตรงกับอุปกรณ์ที่ท่านใช้)
จากนั้นให้ทำการเลือก wifi บ้านของท่าน (2.4G เท่านั้นนะครับ) ใส่ password ของ wifi นั้น แล้วกด Next หน้า app จะเปลี่ยนเป็น Reset the device เพื่อเริ่มการเชื่อมต่ออุปกรณ์กับ wifi บ้าน ถึงตอนนี้คุณต้องเสียบปลั๊กไฟแล้วกดปุ่มวงกลมที่อุปกรณ์จนไฟติด แล้วกด Next ที่ app
ให้ทำการกดปุ่มวงกลมที่อุปกรณ์ (1) อีกครั้ง โดยครั้งนี้ให้กดค้างไว้ประมาณ 5 วินาที หรือจนกว่าไฟจะกระพริบถี่ๆ แล้วจึงมาคลิ๊ก confirm (2) ที่ app แล้วคลิ๊ก Next หน้า app จะขึ้นเป็น wifi และ password ที่เราตั้งค่าไว้ ให้กด Next
app จะทำการติดตั้งอุปกรณ์ใหม่ที่เราเลือก (Smart power strip) ใช้เวลาสักครู่หนึ่ง เมื่อขึ้นเครื่องหมายถูกแสดงว่าติดตั้งเสร็จเรียบร้อยแล้ว ให้กด Next หน้า app จะเปลี่ยนไปเป็น Added successfully คุณสามารถเปลี่ยนชื่ออุปกรณ์ได้โดยการกดที่เครื่องหมายดินสอ แล้วกด Done
เลือกอุปกณ์ที่อยู่บน app แล้วภาพของอุปกรณ์นั้นจะแสดงออกมา คุณสามารถเปลี่ยนชื่อสวิทช์แต่ละตัวได้โดยการกดที่เครื่องหมายดินสอ ลองทดสอบการทำงานโดยการกดปุ่มรวม หรือกดทีละปุ่ม ซึ่งไฟสีแดงที่อุปกรณ์จะแสดงการทำงานของปลั๊กแต่ละช่อง
ดูเหมือนจะมีหลายขั้นตอนก็จริง แต่ในทางปฏิบัติจะใช้เวลาแป๊ปเดียวในการเพิ่มอุปกรณ์ และถ้าคุณจะเพิ่ม อุปกรณ์ Smart Home อื่นๆ ก็ทำซ้ำตามขั้นตอนข้างต้น โดยเลือกอุปกรณ์ให้ถูกต้อง หรือ app จะค้นหาอุปกรณ์ให้โดยอัตโนมัติก็ได้เช่นกัน
แนะนำให้เพิ่มอุปกรณ์นี้ให้ใช้งานร่วมกับ Home Assistant แต่ถ้าหากคุณไม่รู้จัก สามารถหาอ่านได้จากบทความ Home Assistant คืออะไร ได้เลยครับ