นอกจาก การลง Tasmota firmware ด้วย Tasmotizer แล้ว ยังมีวิธีการ ลง Tasmota firmware อีกแบบหนึ่งที่สะดวกและรวดเร็วโดย ไม่ใช้ Tasmotizer นั่นคือการลงผ่าน Chrome based browser ข้อดีก็คือไม่จำเป็นต้อง download ไฟล์ใดๆ แถมทุกครั้งที่ทำการ flash firmware จะเป็น version ล่าสุดเสมอ
สำหรับท่านที่ยังไม่เคยอ่านบทความ เปลี่ยน ESP8266 เป็น Sonoff ด้วย Tasmota Firmware ผมขอทบทวนอุปกรณ์ที่ต้องใช้อีกครั้งนะครับ ในที่นี้เราจะทดลองทำโปรเจคแรกกันด้วยคือ เครื่องวัดอุณหภูมิและความชื้น
หลังจากนั้นให้ต่อ ESP8266 เข้ากับคอมพิวเตอร์ของคุณไปเลยครับ
เข้าไปที่ https://tasmota.github.io/install/ ที่ drop down list ให้เลือก Tasmota (1) ติ๊กเครื่องหมายถูกหน้า Reset setting to default (2) แล้วกด Install (3) หล้งจากนั้นจะมี pop up ขึ้นมาให้เลือก port ที่เชื่อมต่อกับ ESP8266 ให้เลือก USB Serial แล้วกด Connect
จะมีการแสดงความก้าวหน้าของการ flash firmware จนเสร็จสมบูรณ์ (All done) แค่นี้การติดตั้ง firmware ก็เสร็จเรียบร้อยแล้วครับ เห็นไหมครับว่าง่ายและสะดวกมาก ไม่ใช้ Tasmotizer ก็ทำได้
ที่เหลือก็แค่ตั้งค่า wifi และ password ให้กับ ESP8266 โดยเข้าไปเช็คที่ Internet access (เช็คการเชื่อมต่อ wifi ของเครื่องคุณ) จะพบอุปกรณ์ tasmota ขึ้นมา ให้ทำการกด Connect จะปรากฎหน้าใหม่ซึ่งเป็นหน้า IP ชั่วคราวของอุปกรณ์ดังรูป เลือก wifi 2.4G ของคุณ (1) แล้วใส่ password (2) หลังจากนั้นให้กด Save
Tasmota จะแสดง IP address จริงของอุปกรณ์ขึ้นมา แล้วสักพักจะทำการเปลี่ยนหน้าไปที่ IP address นั้นโดยอัตโนมัติ
ตอนนี้มาเปลี่ยนบอร์ดให้ตรงกับบอร์ด ESP8266 ที่เราใช้ก่อน เพราะ default ของ Tasmota จะเป็น Sonoff Basic โดยให้คลิ๊กที่ Configuration แล้วคลิ๊กอีกทีที่ Configure Module
ที่ Module Type จะเห็นว่าเป็น Sonoff Basic อยู่ พร้อมแสดงขาที่สามารถใช้งานได้อยู่ 5 ขา ให้กดที่ drop down list แล้วเลือกเป็น Generic (0)
โปรแกรมจะทำการ restart แล้วแสดงชื่ออุปกรณ์เป็น Generic ให้เข้าไปที่ Configuration อีกครั้งหนึ่ง
คลิ๊กที่ Configure Module ตอนนี้จะเห็นว่าบอร์ดของเรามีขาต่างๆเพิ่มขึ้นมา และตรงกับบอร์ด ESP8266 ที่เราใช้แล้ว
ต่อวงจรดังรูป
ตั้งค่าขา D1 (GPIO5) ซึ่งเป็นขาสัญญาณที่เราเลือกใช้ขาเดียวกับ ESP8266 ใน Module parameters ให้เป็น DHT11 (กดเลือกจาก drop down list) แล้วกด Save หลังจากนั้น Tasmota จะแสดงอุณหภูมิและความชื้นออกมา แค่นี้โปรเจคแรกของเราก็เสร็จแล้วครับ
จะเห็นว่าเราเพิ่งจะใช้งานขาของ ESP8266 ไปเพียงขาเดียว ในบทความต่อๆไป ผมจะเพิ่มสวิทช์ และเซ็นเซอร์ต่างๆ เข้าไป เรียกว่าพยายามใช้งานขาทั้งหมดให้คุ้ม