Thu. Sep 19th, 2024
tasmota firmware esp32

ลง Tasmota Firmware ให้ ESP32

ในบทความนี้จะทำการ ลง Tasmtota firmware ให้กับ ESP32 แบบไม่ใช้ Tasmotizer เราเรียกวิธีนี้ว่า Web Installer ซึ่งเป็นวิธีที่สะดวก ไม่ต้อง download ไฟล์ใดๆ ที่สำคัญไม่มีการเขียน code ใดๆด้วยเช่นกัน แต่ถ้าท่านใดสนใจจะลง Tasmota firmware ด้วย Tasmotizer ลองอ่านบทความ เริ่มใช้งาน Tasmota เปลี่ยน ESP8266 เป็น Sonoff  จะมีขั้นตอนเหมือนกัน

เตรียมอุปกรณ์

  1. ESP32
  2. สาย Jumper (female-female) 3 เส้น
  3. DHT11
แล้วทำการต่อวงจรดังรูป โดยเราจะใช้ขาสัญญาณ D15 เข้าขากลางของ DHT11 แล้วต่อขาไฟเลี้ยง 3V3 และ GND เข้ากับขั้ว + และ – ของ DHT11 ตามลำดับ เสร็จแล้วต่อสาย data mini USB เข้ากับคอมพิวเตอร์หรือโน๊ดบุ๊คของคุณ
esp32 dht11 equipment
esp32 dht11 circuit
esp32 dht11 connecting

หลังจากนั้นเข้าไปที่ลิงค์  https://tasmota.github.io/install/ จะปรากฏหน้า Install Tasmota ขึ้นมา ที่ drop down list ให้เลือก Tasmota (1)  ติ๊กเครื่องหมายถูกที่หน้า Reset setting to default (2) หลังจากนั้นกด Install (3) จะปรากฏหน้าให้เลือก port ที่เชื่อมต่อ ให้เลือก port ที่ขึ้นต้นด้วย CP2102 USB แล้วคลิ๊ก Connect

tasmota web installer
esp32 usb com port

Web Installer จะตรวจพบ ESP32 โดยอัตโนมัติ และเริ่มทำการ flashing firmware เข้าไป เมื่อเสร็จเรียบร้อยแล้วจะขึ้นคำว่า “All Done” แค่นี้ก็เรียบร้อยแล้วครับ จะเห็นว่าสะดวกและรวดเร็วมาก ที่เหลือคือการตั้งค่าแค่นั้นเองครับ

tasmota flashing progress

รอสักครู่หนึ่งแล้วไปที่ Internet Access จะพบว่ามีอุปกรณ์ tasmota แสดงตัวเป็น access point ขึ้นมา ให้ทำการ connect เมื่อ connect แล้วจะปรากฏหน้า IP ชั่วคราวของอุปกรณ์ Tasmota ESP32 นี้ ปกติจะเป็น 192.168.4.1 ให้ตั้งค่า wifi และ password ของบ้านเรา (ให้เลือก 2.4G เท่านั้น) แล้วกด Save

tasmota access point
tasmota wifi set up

เมื่อเชื่อมต่อกับ wifi บ้านสำเร็จ จะแสดง IP Address ของอุปกรณ์ขึ้นมา รอสักครู่ Tasmota จะทำการเปลี่ยนหน้าไปยัง IP Address นี้เองโดยอัตโนมัติ ซึ่งในหน้านี้จะแสดงชื่อบอร์ดที่เราใช้งาน พร้อมแสดงอุณหภูมิของบอร์ด (ไม่ใช่อุณหภูมิห้องนะครับ) ให้ทำการคลิ๊กที่ Configuration เพื่อทำการตั้งค่าขา ESP32 ที่ต่อกับ DHT11

tasmota ip address
tasmota esp32 configuration

จากนั้นให้เลือก Configure Module จะเปลี่ยนไปที่หน้า Module parameters ซึ่งในหน้านี้เราจะเห็นขาใช้งานทั้งหมดของ ESP32 ที่ GPIO15 ให้คลิ๊กที่ drop down list แล้วเลือก DHT11 ซึ่งเป็นขาที่เราเลือกใช้งานในตอนต้น แล้วกด Save

tasmota esp32 configure module
tasmota esp32 dht11 gpio

Tasmota จะทำการ restart โดยอัตโนมัติ หลังจากนั้นจะแสดงอุณหภูมิและความชื้นที่วัดได้จาก DHT11 ดังรูป

tasmota esp32 restart
tasmota esp32 dht11 display

เสร็จสมบูรณ์แล้วครับ ลง Tasmota firmware โดย ไม่ใช้ Tasmotizer พร้อมทดสอบการทำงานร่วมกับเซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิและความชื้น จะเห็นว่าค่อนข้างง่ายและสะดวกมาก ในบทความต่อๆไปจะทำการใช้งานขาที่เหลือของ ESP32 ให้คุ้มค่าที่สุดโดยการต่อเซ็นเซอร์, สวิทช์, รีเลย์ ฯลฯ เพิ่มเข้าไป คอยติดตามกันต่อนะครับ

By admin