Thu. Sep 19th, 2024
tasmota firmware tasmotizer

หากรู้จัก Tasmota คืออะไร แล้ว มาเริ่มใช้งาน Tasmota กันต่อเลย โดยเราจะทำการลง Firmware Tasmota ให้กับ ESP8266 ซึ่งในบทความนี้จะใช้ Tasmotizer เป็นตัวช่วย flash firmware แล้วทดลองสร้างอุปกรณ์สมาร์ทโฮมตัวแรกของคุณ ในที่นี้คือเครื่องวัดอุณหภูมิและความชื้น

เตรียมอุปกรณ์

  1. ESP8266  ราคาประมาณ 70-100 บาท
  2. DHT11 (เซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิและความชื้น)  ราคาประมาณ 40-50 บาท บางร้านแถมสาย Jumper มาให้ด้วย
  3. สายสัญญาณ Mini USB เพื่อต่อเชื่อม ESP8266 กับคอมพิวเตอร์ของคุณ   ราคาประมาณ 20 บาท
  4. สาย Jumper 10cm 3 เส้น (female to female) ราคาประมาณ 20-30 บาท/แผง (40 เส้น)
ทำการต่อ ESP8266 เข้ากับคอมพิวเตอร์ของคุณดังรูป
esp8266 dht11
connect esp8266 to pc

สำหรับท่านที่ยังไม่เคยลองใช้งาน ESP8266 มาก่อน อาจต้องติดตั้ง driver สำหรับชิป CH340/341 ที่อยู่บนบอร์ด ESP8266 ไม่เช่นนั้นคอมพิวเตอร์ของคุณอาจจะหา port ไม่เจอ วิธีการดาวน์โหลดและติดตั้ง คลิ๊กที่นี่  การติดตั้งง่ายมากครับ เมื่อติดตั้งเสร็จแล้วให้เปิด Device Manager แล้วลองเช็คที่ Ports (COM & LPT) จะเห็น USB-SERIAL CH340 (COMxx) นั่นคือ port สำหรับ ESP8266 ของคุณ

ch340 port

ใช้ Tasmota ต้องรู้จัก Tasmotizer

Tasmotizer เป็นโปรแกรมที่ช่วยในการ flash firmware tasmota ไปยัง ESP8266 ก่อนอื่นให้ download Tasmotizer เลือก “tasmotizer-1.x.exe” (เลือก version ล่าสุด สำหรับเครื่อง windows) เมื่อดาวน์โหลดไฟล์มาได้แล้วให้ทำการ save ไว้ใน folder ที่ต้องการ หรือจะวางไว้บนหน้า desktop ก็ได้เพราะอาจเรียกใช้งายบ่อย  tasmotizer.exe จะทำงานในลักษณะ mobile app ไม่ได้ติดตั้งจริงบนเครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณ ดังนั้นถ้าจะเรียกใช้ก็ไปคลิ๊กที่ไฟล์เพื่อเปิดใช้งานเป็นครั้งๆไป ทดลองเปิดใช้งานจะมีหน้าตาดังรูปด้านล่าง 

tasmotizer

Flash Firmware Tasmota ให้กับ ESP8266

ดาวน์โหลด Tasmota Firmware สำหรับ ESP8266 คลิ๊กที่นี่  เลือก “tasmota.bin” แล้ว save เก็บไว้ใน folder ที่คุณต้องการเผื่อไว้สำหรับโปรเจคใหม่คุณจะต้องใช้อีก หรือใครจะ download ใหม่ทุกครั้งที่จะใช้ก็ได้ เพราะจะมีการ update version ใหม่อยู่เรื่อยๆ

tasmota firmware

ให้เปิดโปรแกรม Tasmotizer ขึ้นมา แล้วทำการเลือก port ที่ต่อเชื่อมกับ ESP8266 ของคุณ (1)  ที่ Select image ให้เลือก BIN file (2)  ติ๊กเครื่องหมายถูกที่ Self-restting device และ Erase before flashing (3)  หลังจากนั้นให้ไปกด open เลือกไฟล์ tasmota.bin ที่คุณเก็บไว้ (4)  แล้วกด Tasmotize (5) เพื่อ flash firmware Tasmota เข้าไปยัง ESP8266

set tasmotizer

เมื่อ flash firmware เรียบร้อยแล้วให้กด OK แล้วกด Send config เพื่อทำการตั้งค่า wifi และ password ของบ้านเรา (2.4G เท่าน้้นนะครับ) หลังจากนั้นให้กด Save

flash firmware tasmota
set up wifi tasmota

โปรแกรมจะแจ้งว่าอุปกรณ์จะทำการ restart ให้คลิ๊ก OK แล้วไปที่ Get IP เพื่อดู IP address ของ ESP8266 ตัวที่เราเพิ่ง flash firmware เข้าไป 

restart tasmota firmware
tasmota ip address

ทำการ copy IP address แล้วนำไปวางใน browser จะปรากฏอุปกรณ์ Sonoff Basic ขึ้นมา นั่นแสดงว่าตอนนี้ ESP8266 ของคุณได้กลายร่างเป็นอุปกรณ์ Sonoff เรียบร้อยแล้ว (คุณสามารถปิด Tasmotizer ไปได้แล้วครับ) แต่เนื่องจาก ESP8266 มีหลายแบบ ดังนั้นเราต้องทำการเลือก module ให้ถูกต้องเพื่อทำการกำหนดการทำงานของขาต่างๆ โดยการคลิ๊กที่ Configuration แล้วเลือก Configure Module

configure module tasmota

คุณจะเห็นว่า module Sonoff Basic ซึ่งเป็น default module จะมีขาให้ใช้งานเพียง 5 ขา แต่บอร์ดที่เราใช้งานมีขาให้ใช้งานมากกว่านั้น ดังนั้นเราจึงต้องเปลี่ยน module ให้ถูกต้อง โดยให้คลิ๊กที่ drop down list แล้วเลือก Generic (0) ซึ่งเป็นบอร์ดที่เราใช้อยู่ หลังจากนั้นให้กด Save

basic sonoff
select generic 0 tasmota

Tasmota จะทำการ restart แล้วจะแสดงชื่อ module เป็น Generic ให้คลิ๊กไปที่ Configuration เพื่อดูขาใช้งานต่างๆ ว่าครบถ้วนถูกต้องหรือไม่ 

restart tasmota
configuration generic tasmota

เลือก Configure Module จะปรากฏ Module parameters ของบอร์ดของเราและขาต่างๆที่สามารถใช้งานได้ครบถ้วน ให้เปิดหน้านี้ค้างไว้ก่อนนะครับ เราจะทำการสร้างโปรเจคแรกของเราแล้ว

select configure module tasmota
generic 0 tasmota gpio

ใช้ Tasmota สร้าง อุปกรณ์ Smart Home ตัวแรก - เครื่องวัดอุณหภูมิและความชื้น

ต่อวงจรดังรูป โดยต่อขา D1 (สัญญาณ) เข้าขากลางของ DHT11 แล้วต่อไฟเลี้ยง 5V จากขา VU และกราวด์ GND เข้าขา + และ – ของ DHT11 ตามลำดับ

esp8266 dht11 circuit
esp8266 dht11 wiring

ขั้นตอนต่อไป ที่ Module parameters ที่เปิดค้างไว้ ให้เลือกขาสัญญาณที่เราใช้ให้ตรงกับที่เราต่อ sensor ไว้ คลิ๊ก drop down list ขา D1 (GPIO5) เลือกให้เป็น DHT11 ตามเซ็นเซอร์ที่เราใช้ แล้วกด Save 

tasmota gpio selection
tasmota dht11 display

เรียบร้อยแล้วครับ จะเห็นว่าเครื่องวัดอุณหภูมิและความชื้นของเราสามารถอ่านค่าและแสดงผลได้แล้ว โปรเจคแรกนี้เราใช้ขา ESP8266 เพียงขาเดียว หากเราต้องการเพิ่ม sensor หรือ switch เข้าไป ก็ยังมีขาเหลือให้ใช้งานอยู่อีกหลายขา ในบทความต่อๆไปเราจะมาลองสร้างอุปกรณ์สมาร์ทโฮมที่มีความสามารถหลากหลายในตัวเดียว แล้วติดตามกันต่อนะครับ

ยังมีอีกวิธีหนึ่งในการ flash firmware ให้กับ ESP8266 โดยไม่ใช้ Tasmotizer หากสนใจสามารถอ่านได้จากบทความ Flash Tasmota Firmware ให้ ESP8266 โดยไม่ใช้ Tasmotizer

By admin